BANGKOK THAT WAS: Photographs 1956-1961 by Fabrizio La Torre

BANGKOK THAT WAS Photographs 1956-1961 by Fabrizio La Torre, Serindia Gallery, 28 November 2018 - 20 January 2019.

ฺBangkok That Was


FABRIZIO LA TORRE (Rome 1921–Brussels 2014), Italian photographer and a great art enthusiast, lived in Bangkok from 1956 to 1961. Having come to Bangkok to work in a newly established company, Italthai Industrial, he took a series of photographs in Thailand depicting the everyday life of the Thais at the time. Using a neo-realistic, intimate style which characterises all of his work, in his own country, Italy, or during a 6-month tour in North America, La Torre was able to capture those simple, sincere moments which tell exactly the story of an era.

Bangkok That Was opens on the occasion of a 2018 double exhibition of this artist in the National Museum Bangkok and in Serindia Gallery. The accompanying catalogue is the first book dedicated to the Asian photographs of Fabrizio La Torre. A tender and curious universe to be discovered by all who love Thailand.

This exhibition and its catalogue are made possible with the support of the Italian Embassy, Bangkok, Belgian Embassy, Bangkok, Thai-Italian Chamber of Commerce, BeLu Thai, and THAI Airways International.

Bangkok That Was เป็นนิทรรศการภาพถ่ายของ ฟาบริซิโอ ลา ทอเร (เกิดกรุงโรม 2464 มรณะกรุงบรัสเซล 2557) ช่างภาพชาวอิตาลีที่ได้มาพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพเป็นเวลา 5 ปี ช่วงพ.ศ. 2499-2504 ชีวิตของเขาเป็นเรื่องราวของหนุ่มชาวอิตาลีที่ผ่านวัยเด็กมากับครอบครัวเชื้อสายศิลปิน คุณทวดของฟาบริซิโอเป็นช่างภาพยุคบุกเบิกของประเทศอิตาลี คุณแม่ของเขาเป็นจิตรกร ในสมัยเด็กเขาได้ฟังเรื่องราวจากแดนไกลของอเล็กซานดรา เดวิด นีล เพื่อนของคุณป้าเขาที่เป็นผู้หญิงยุโรปคนแรกที่เดินทางไปถึงกรุงลาซาในทิเบต ด้วยสภาพแวดล้อมที่ฟาบริซิโอเติบโตมา จึงทำให้ความรักศิลปะและความอยากเดินทางฝังใจเขาตั้งแต่เด็ก สมัยหนุ่มเขาเป็นทหารเรือของประเทศอิตาลี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้มีโอกาสไปสหรัฐอเมริกา ในที่สุดโอกาสที่จะได้มาทวีปเอเซียก็เป็นจริงเมื่อเขาได้ถูกจ้างมาทำงานที่ประเทศไทยโดยบริษัทอิตัลไทยอุตสาหกรรมในสมัยที่บริษัทเพิ่งเริ่มก่อตั้ง

ผลงานของฟาบริซิโอมีเอกลัษณ์เป็นของตนเอง เป็นภาพในรูปแบบสภาพความเป็นจริงของชีวิตประชาชนทั่วไปในยุคนั้น ภาพของเมืองไทยส่อให้เห็นถึงความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยของฟาบริซิโอ ด้วยความรักการศึกษาศิลปะ เขาได้เป็นสหายกับอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี (ชื่ออิตาเลียนเดิม คอร์ราโด เฟโรชี) ผู้ซึ่งอนุญาติให้ฟาบริซิโอถ่ายภาพตู้พระธรรมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภาพดังกล่าวจะนำแสดงเป็นนิทรรศการใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตพระนครในเร็วๆนี้